สมัยกรุงศรีอยุธยาฯ
ได้มีการจารึกว่า เป็นยุคที่มีการจัดเก็บภาษีอากรรุ่งเรืองมาก การก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 1893 ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างพระนครขึ้นที่ริมหนองโสน แล้วทำการราชาภิเษกทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี ขนานนามราชธานีว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ในช่วงตลอดอายุกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา 417 ปี บ้านเมืองมีทั้งความเจริญและความเสื่อม ในสมัยที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก คือ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ในบางรัชสมัยพระมหาธรรมราชาและพระเพทราชาในส่วนที่เป็นภาษีซึ่งเรียกเก็บจากการค้ากับต่างประเทศมีหลักฐานในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่ามีการเก็บ 2 อย่างคือ
1. จังกอบเรือสินค้า หรือที่เรียกว่า ค่าปากเรือ โดยเก็บตามพิกัดขนาดปากเรือ โดยกำหนดว่าเรือลำใดปากกว้างกว่า 6 ศอก แม้จะยาวไม่ถึง 6 วา เก็บค่าปากเรือลำละ 6 บาท
2. จังกอบสินค้า เก็บจากสินค้าทั้งขาเข้าและขาออก จังกอบสินค้านี้เองที่ในสมัยต่อมาก็คือภาษีซึ่งการเก็บภาษีขาเข้าในสมัยอยุธยามีข้อกำหนดและข้อยกเว้นว่าถ้าเป็นเมืองที่มีพระราชไมตรีและไปมาค้าขายไม่ขาดจะเก็บค่าปากเรือ 4 วาขึ้นไป วาละ 12 บาท และเก็บภาษีสินค้า 100 ชัก 3 และสำหรับที่ไม่ได้ค้าขายประจำ เก็บค่าปากเรือ วาละ 20บาทและ เก็บภาษีสินค้า 100 ชัก 5
จังกอบเรือสินค้าและจังกอบสินค้าถือได้ว่าเป็นภาษีศุลกากรสมัยอยุธยานี้สันนิฐานว่าเจ้าหน้ารับผิดชอบการจัดเก็บได้แก่ นายขนอน อยู่ในบังคับบัญชาของเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งว่าการกรมท่าและในส่วนของการจัดเก็บตามหัวเมืองเป็นหน้าที่ของเจ้าเมืองในแต่ละหัวเมือง อยู่ในการบังคับของสมุหนายก สมุหพระกลาโหม และกรมท่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น